พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
พระลีลา เนื้อดิ...
พระลีลา เนื้อดิน พิมพ์ใหญ่ กรุเจดีย์กลางทุ่ง จ.กำแพงเพชร ไม่มีอุดซ่อม สภาพสมบูรณ์ครับ
วัดเจดีย์กลางทุ่ง ตั้งอยู่นอกเมืองนครชุมทางด้านทิศใต้ ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองกำแพงเพชร ตัววัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออกไม่ปรากฏแนวกำแพงวัด แต่มีการขุดคูน้ำโดยรอบเพื่อแสดงขอบเขตวัดเรียกลักษณะนี้ว่า “อุทกสีมา” ซึ่งเป็นรูปแบบแผงผังวัดที่นิยมสร้างในสมัยสุโขทัย สิ่งก่อสร้างสำคัญภายในวัดประกอบด้วยวิหารก่อด้วยอิฐปัจจุบันเหลือเฉพาะส่วนฐานอาคาร ด้านหลังวิหารเป็นเจดีย์ประธานทรงยอดดอกบัวตูม สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ประกอบด้วยฐานหน้ากระดานในผังสี่เหลี่ยมซ้อนลดหลั่นกันสามชั้น จากนั้นเป็นฐานบัวที่ยืดท้องไม้สูงประดับลูกแก้วอกไก่ 2 เส้น อยู่ในผังสี่เหลี่ยม ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวลูกฟักเพิ่มมุมไม้ยี่สิบซ้อนกันสองชั้น (ชั้นแว่นฟ้า) ตามด้วยส่วนเรือนธาตุเพิ่มเหลี่ยมมุมไม้ยี่สิบรองรับส่วนยอดทรงดอกบัวตูม ส่วนปลีหักหาย
เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม มีที่มาของชื่อตามลักษณะของส่วนยอดซึ่งคล้ายดอกบัวตูม และการพบเจดีย์ลักษณะเดียวกันบางองค์ ปรากฏการทำกลีบบัวประดับทรงดอกบัวตูม โดยชื่อของเจดีย์ทรงนี้เรียกกันหลายอย่างอาทิเช่น เจดีย์ทรงดอกบัวตูม ทรงทะนาน หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมนี้ถือเป็นรูปแบบเฉพาะของสถาปัตยกรรมสุโขทัย เนื่องจากพบเจดีย์ทรงนี้อย่างแพร่หลายตามหัวเมืองต่าง ๆ หรือที่เกี่ยวข้องกับเมืองสุโขทัย มีรายละเอียดส่วนประกอบโดยรวม ดังนี้
ส่วนฐาน ประกอบด้วยฐานหน้ากระดานหรือฐานเขียงอยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส 3-5 ฐาน รองรับฐานบัวลูกแก้วอกไก่ (บัวคว่ำ-บัวหงาย) ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส 1 ฐาน ซึ่งมีลักษณะเป็นฐานบัวที่ยืดท้องไม้สูงประดับลูกแก้วอกไก่ 2 เส้น
ส่วนกลาง ประกอบด้วยชุดฐานบัวลูกฟักซ้อนกัน 2 ฐาน ส่วนใหญ่อยู่ในผังเพิ่มมุมไม้ยี่สิบ นิยมเรียกชุดฐานบัวทั้งสองฐานนี้ว่า “ชั้นแว่นฟ้า” ถัดขึ้นไปเป็นส่วนของเรือนธาตุอยู่ในผังเพิ่มมุมไม้ยี่สิบเช่นเดียวกับฐานมี 2 รูปแบบ คือ เรือนธาตุไม่มีจระนำซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป ซึ่งพบมากที่สุด และรูปแบบเรือนธาตุมีจระนำซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งสี่ด้าน ซึ่งพบเพียงไม่กี่องค์เท่านั้น เช่น เจดีย์ประธานวัดตระพังเงิน เมืองสุโขทัย
ส่วนยอด ประกอบด้วยส่วนที่เชื่อมต่อเหนือเรือนธาตุมีชั้นซ้อน 1 ชั้น ประดับด้วยบรรพแถลง และกลีบขนุน แล้วจึงต่อด้วยส่วนยอด คือ ส่วนองค์ระฆัง ประกอบด้วยองค์ระฆังที่เป็นทรงพุ่มคล้ายดอกบัวตูม และเหนือส่วนยอดของดอกบัวตูมทำเป็นวงแหวนซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ลักษณะเดียวกับปล้องไฉนของเจดีย์ทรงระฆังรองรับส่วนยอดสุดคือ ปลี
ทั้งนี้ซุ้มบรรพแถลงของเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมมักพบการประดับหน้ากาลเต็มพื้นที่ คาดว่าน่าจะเป็นเพราะบรรพแถลงมีขนาดเล็กมาก และอยู่สูง เช่น เจดีย์ประธานวัดเจดีย์เจ็ดแถว
นอกจากนี้เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมบางกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ และเป็นเจดีย์ประธานอันสำคัญที่สุดของวัดจะมีการทำบันไดบริเวณส่วนฐานด้านทิศตะวันออกขึ้นไปถึงส่วนเรือนธาตุ โดยรวมแล้วเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมมีลักษณะรูปแบบเดียวกันกับที่กล่าวถึงข้างต้น จะมีเพียงบางองค์
ที่มีลักษณะแตกต่างไปคือ มีองค์ประกอบไม่ครบถ้วนตามระเบียบของเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมโดยทั่วไป เช่น ไม่มีชั้นเขียง ไม่มีชั้นแว่นฟ้า มีชั้นแว่นฟ้าเพียงชั้นเดียว หรือมีการเพิ่มชั้นฐานบัว เป็นต้น
ตัวอย่างเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ในเมืองสุโขทัย ได้แก่ เจดีย์ประธาน วัดมหาธาตุ, เจดีย์วัดอโสการาม และเจดีย์ประธานวัดตระพังเงิน เป็นต้น
การกำหนดอายุโดยวิธีการเปรียบรูปแบบสถาปัตยกรรม และอ้างอิงจากอายุของวัดที่พบรูปแบบสถาปัตยกรรมเดียวกัน ในที่นี้จึงทำการกำหนดอายุเปรียบเทียบโดยใช้เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมเป็นสื่อกลางในการอ้างอิงระหว่างวัดเจดีย์กลางทุ่ง ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร และเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมในสมัยสุโขทัย
1. หลักฐานทางโบราณคดีประเภทจารึก : ปรากฏจารึกวัดอโสการาม ซึ่งเป็นวัดที่ทำการขุดแต่งพบส่วนยอดของเจดีย์ลักษณะทรงยอดดอกบัวตูม โดยจารึกเป็นอักษรไทย ภาษาไทย อีกด้านหนึ่งเป็นอักษรขอม ภาษาบาลี กล่าวถึงสมเด็จพระราชเทพีศรีจุฬาลักษณ์ พระอัครมเหสี สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ทรงมีพระราชศรัทธาประดิษฐานพระสถูปไว้ในวัดอโสการาม ระบุปีพุทธศักราช 1956
นอกจากนี้ยังพบจารึกภายในบริเวณวัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย เช่น จารึกปู่ขุนจิดขุนจอด อักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย พุทธศักราช 1935, จารึกเจดีย์น้อย อักษรสุโขทัย-ขอมสุโขทัย ภาษาไทย-สันสกฤต พุทธศตวรรษที่ 20-21 และจารึกลานทองสมเด็จพระมหาเถรจุฑามุณี อักษรไทยสุโขทัย-ธรรมล้านนา ภาษาไทย-บาลี พุทธศักราช 1919
2. หลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากการดำเนินการโครงการการศึกษาทางโบราณคดีเพื่อจัดลำดับอายุสมัยของแหล่งศิลปกรรมเมืองสุโขทัย โดยการดำเนินงานของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย กรมศิลปากร ทำการขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่ทางทิศตะวันตกของวัดตระพังเงิน เมืองสุโขทัย ขนาดหลุม 2x2 เมตร จำนวน 2 หลุม แบ่งประเภทการกำหนดอายุโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- การกำหนดอายุสมัยโดยวิธีเปรียบเทียบ
- ชิ้นส่วนภาชนะแหล่งเตาสุโขทัย ได้แก่ ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งเขียนลายสีดำบนพื้นสีขาวลวดลายกงจักร ลายปลาในวงกลม ลายดอกไม้หรือลายพันธุ์พฤกษา ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งน้ำเคลือบสีเขียวหรือสังคโลกจากแหล่งเตาสุโขทัย กำหนดอายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 20
- เครื่องถ้วยจีน ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนที่พบจากการขุดค้นทางโบราณคดีสามารถกำหนดอายุคร่าวๆได้ว่า ชิ้นที่พบว่ามีอายุเก่าสุดอยู่ในช่วงสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ (ปลายพุทธศตวรรษที่ 17 - ต้นพุทธศตวรรษที่ 18) ต่อมาคือสมัยเยวี๋ยน (ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 - ปลายพุทธศตวรรษที่ 19) และสมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ.1911-2187) นอกจากนั้นยังพบภาชนะสำริดตกแต่งผิวด้านนอก-ด้านในด้วยวิธีถมปัด อายุสมัยอยู่ในช่วงราชวงศ์หมิงราวพุทธศตวรรษที่ 22 โดยเมื่อเปรียบเทียบชั้นดินวัฒนธรรมแล้วพบว่าเศษภาชนะดินเผาที่มีอายุสมัยอยู่ในช่วงราชวงศ์หมิงเหล่านี้ อยู่ในชั้นดินที่อยู่อาศัยสมัยสุโขทัย ร่วมสมัยกับชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อดินและชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งรูปทรงต่างๆ และชิ้นส่วนถ้วยชามสังคโลก
- การกำหนดอายุสมัยโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์
จากรายงานผลการกำหนดค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธี AMS Dating ตัวอย่างถ่าน และเปลือกหอยจากการดำเนินงานการขุดค้นทางโบราณคดี โครงการวิจัยการศึกษาทางโบราณคดีเพื่อจัดลำดับอายุสมัยแหล่งศิลปกรรมเมืองสุโขทัย ปีงบประมาณพุทธศักราช 2561 นำตัวอย่างถ่านที่พบในหลุมขุดค้นที่ 2 (TP.2) ทางทิศตะวันตกของวัดตระพังเงิน ระดับความลึกสมมติที่ 11 (160-170 cm.dt.) ไปกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธีการเร่งอนุภาคมวลสาร (AMS) มีค่าอายุอยู่ในช่วงพุทธศักราช 1690-1758 ซึ่งมีอายุเก่ากว่าสมัยสุโขทัย โดยในระดับชั้นเดียวกันนี้พบโบราณวัตถุที่มีอายุสมัยร่วมกันคือ ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ กำหนดอายุโดยวิธีเปรียบเทียบราวปลายพุทธศตวรรษที่ 17 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 18
ผลการดำเนินงานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่าหลุมขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณทิศตะวันตกของวัดตระพังเงินมี 2 ชั้นวัฒนธรรม ได้แก่ ชั้นที่อยู่อาศัยในยุคเริ่มแรกสุโขทัย และชั้นที่อยู่อาศัยสมัยสุโขทัย และจากหลักฐานทางโบราณคดีดังกล่าวข้างต้น สันนิษฐานว่าช่วงเวลาการสร้างวัดที่ปรากฏศิลปกรรมเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมอย่างช้าที่สุดคือช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 19 - 20
ดังนั้นการปรากฏรูปแบบเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมที่วัดเจดีย์กลางทุ่ง ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร และวัดตระพังเงิน เมืองสุโขทัย สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากอายุสมัยแห่งการก่อสร้างวัดทั้งสองแห่งที่อยู่ร่วมสมัยกันในฐานะที่เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองบริวารของอาณาจักรสุโขทัย

สำหรับพระพิมพ์ลีลา ที่พบในกรุนี้ไม่ค่อยมีให้เห็นบ่อยนัก เนื่องจากพบเจอน้อย

+++รับประกันพระเเท้สากลตลอดกาลครับ+++
ผู้เข้าชม
320 ครั้ง
ราคา
-
สถานะ
บูชาแล้ว
โดย
ชื่อร้าน
สุรินทร์ภักดี พระเครื่อง
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
surinphakdee
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
686-2-299xx-x

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
vanglannaเทพจิระพล ปากน้ำบู๊ วีริชBoy114เจริญสุข
น้ำตาลแดงChatcentralpraramsamนิธิพัฒน์พลปลั๊ก ปทุมธานีfuchoo18อ้วนโนนสูง
termboonKshopNithipornเธียรnattapong939Kumpang
โกหมูพระเครื่องโคกมนep8600ศิษย์บูรพาเปียโนtangmo
ErawanLeoมงคลเก้าBAINGERNLeksoi8Spiderman

ผู้เข้าชมขณะนี้ 1202 คน

เพิ่มข้อมูล

พระลีลา เนื้อดิน พิมพ์ใหญ่ กรุเจดีย์กลางทุ่ง จ.กำแพงเพชร ไม่มีอุดซ่อม สภาพสมบูรณ์ครับ




  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
พระลีลา เนื้อดิน พิมพ์ใหญ่ กรุเจดีย์กลางทุ่ง จ.กำแพงเพชร ไม่มีอุดซ่อม สภาพสมบูรณ์ครับ
รายละเอียด
วัดเจดีย์กลางทุ่ง ตั้งอยู่นอกเมืองนครชุมทางด้านทิศใต้ ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองกำแพงเพชร ตัววัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออกไม่ปรากฏแนวกำแพงวัด แต่มีการขุดคูน้ำโดยรอบเพื่อแสดงขอบเขตวัดเรียกลักษณะนี้ว่า “อุทกสีมา” ซึ่งเป็นรูปแบบแผงผังวัดที่นิยมสร้างในสมัยสุโขทัย สิ่งก่อสร้างสำคัญภายในวัดประกอบด้วยวิหารก่อด้วยอิฐปัจจุบันเหลือเฉพาะส่วนฐานอาคาร ด้านหลังวิหารเป็นเจดีย์ประธานทรงยอดดอกบัวตูม สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ประกอบด้วยฐานหน้ากระดานในผังสี่เหลี่ยมซ้อนลดหลั่นกันสามชั้น จากนั้นเป็นฐานบัวที่ยืดท้องไม้สูงประดับลูกแก้วอกไก่ 2 เส้น อยู่ในผังสี่เหลี่ยม ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวลูกฟักเพิ่มมุมไม้ยี่สิบซ้อนกันสองชั้น (ชั้นแว่นฟ้า) ตามด้วยส่วนเรือนธาตุเพิ่มเหลี่ยมมุมไม้ยี่สิบรองรับส่วนยอดทรงดอกบัวตูม ส่วนปลีหักหาย
เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม มีที่มาของชื่อตามลักษณะของส่วนยอดซึ่งคล้ายดอกบัวตูม และการพบเจดีย์ลักษณะเดียวกันบางองค์ ปรากฏการทำกลีบบัวประดับทรงดอกบัวตูม โดยชื่อของเจดีย์ทรงนี้เรียกกันหลายอย่างอาทิเช่น เจดีย์ทรงดอกบัวตูม ทรงทะนาน หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมนี้ถือเป็นรูปแบบเฉพาะของสถาปัตยกรรมสุโขทัย เนื่องจากพบเจดีย์ทรงนี้อย่างแพร่หลายตามหัวเมืองต่าง ๆ หรือที่เกี่ยวข้องกับเมืองสุโขทัย มีรายละเอียดส่วนประกอบโดยรวม ดังนี้
ส่วนฐาน ประกอบด้วยฐานหน้ากระดานหรือฐานเขียงอยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส 3-5 ฐาน รองรับฐานบัวลูกแก้วอกไก่ (บัวคว่ำ-บัวหงาย) ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส 1 ฐาน ซึ่งมีลักษณะเป็นฐานบัวที่ยืดท้องไม้สูงประดับลูกแก้วอกไก่ 2 เส้น
ส่วนกลาง ประกอบด้วยชุดฐานบัวลูกฟักซ้อนกัน 2 ฐาน ส่วนใหญ่อยู่ในผังเพิ่มมุมไม้ยี่สิบ นิยมเรียกชุดฐานบัวทั้งสองฐานนี้ว่า “ชั้นแว่นฟ้า” ถัดขึ้นไปเป็นส่วนของเรือนธาตุอยู่ในผังเพิ่มมุมไม้ยี่สิบเช่นเดียวกับฐานมี 2 รูปแบบ คือ เรือนธาตุไม่มีจระนำซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป ซึ่งพบมากที่สุด และรูปแบบเรือนธาตุมีจระนำซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งสี่ด้าน ซึ่งพบเพียงไม่กี่องค์เท่านั้น เช่น เจดีย์ประธานวัดตระพังเงิน เมืองสุโขทัย
ส่วนยอด ประกอบด้วยส่วนที่เชื่อมต่อเหนือเรือนธาตุมีชั้นซ้อน 1 ชั้น ประดับด้วยบรรพแถลง และกลีบขนุน แล้วจึงต่อด้วยส่วนยอด คือ ส่วนองค์ระฆัง ประกอบด้วยองค์ระฆังที่เป็นทรงพุ่มคล้ายดอกบัวตูม และเหนือส่วนยอดของดอกบัวตูมทำเป็นวงแหวนซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ลักษณะเดียวกับปล้องไฉนของเจดีย์ทรงระฆังรองรับส่วนยอดสุดคือ ปลี
ทั้งนี้ซุ้มบรรพแถลงของเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมมักพบการประดับหน้ากาลเต็มพื้นที่ คาดว่าน่าจะเป็นเพราะบรรพแถลงมีขนาดเล็กมาก และอยู่สูง เช่น เจดีย์ประธานวัดเจดีย์เจ็ดแถว
นอกจากนี้เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมบางกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ และเป็นเจดีย์ประธานอันสำคัญที่สุดของวัดจะมีการทำบันไดบริเวณส่วนฐานด้านทิศตะวันออกขึ้นไปถึงส่วนเรือนธาตุ โดยรวมแล้วเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมมีลักษณะรูปแบบเดียวกันกับที่กล่าวถึงข้างต้น จะมีเพียงบางองค์
ที่มีลักษณะแตกต่างไปคือ มีองค์ประกอบไม่ครบถ้วนตามระเบียบของเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมโดยทั่วไป เช่น ไม่มีชั้นเขียง ไม่มีชั้นแว่นฟ้า มีชั้นแว่นฟ้าเพียงชั้นเดียว หรือมีการเพิ่มชั้นฐานบัว เป็นต้น
ตัวอย่างเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ในเมืองสุโขทัย ได้แก่ เจดีย์ประธาน วัดมหาธาตุ, เจดีย์วัดอโสการาม และเจดีย์ประธานวัดตระพังเงิน เป็นต้น
การกำหนดอายุโดยวิธีการเปรียบรูปแบบสถาปัตยกรรม และอ้างอิงจากอายุของวัดที่พบรูปแบบสถาปัตยกรรมเดียวกัน ในที่นี้จึงทำการกำหนดอายุเปรียบเทียบโดยใช้เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมเป็นสื่อกลางในการอ้างอิงระหว่างวัดเจดีย์กลางทุ่ง ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร และเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมในสมัยสุโขทัย
1. หลักฐานทางโบราณคดีประเภทจารึก : ปรากฏจารึกวัดอโสการาม ซึ่งเป็นวัดที่ทำการขุดแต่งพบส่วนยอดของเจดีย์ลักษณะทรงยอดดอกบัวตูม โดยจารึกเป็นอักษรไทย ภาษาไทย อีกด้านหนึ่งเป็นอักษรขอม ภาษาบาลี กล่าวถึงสมเด็จพระราชเทพีศรีจุฬาลักษณ์ พระอัครมเหสี สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ทรงมีพระราชศรัทธาประดิษฐานพระสถูปไว้ในวัดอโสการาม ระบุปีพุทธศักราช 1956
นอกจากนี้ยังพบจารึกภายในบริเวณวัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย เช่น จารึกปู่ขุนจิดขุนจอด อักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย พุทธศักราช 1935, จารึกเจดีย์น้อย อักษรสุโขทัย-ขอมสุโขทัย ภาษาไทย-สันสกฤต พุทธศตวรรษที่ 20-21 และจารึกลานทองสมเด็จพระมหาเถรจุฑามุณี อักษรไทยสุโขทัย-ธรรมล้านนา ภาษาไทย-บาลี พุทธศักราช 1919
2. หลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากการดำเนินการโครงการการศึกษาทางโบราณคดีเพื่อจัดลำดับอายุสมัยของแหล่งศิลปกรรมเมืองสุโขทัย โดยการดำเนินงานของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย กรมศิลปากร ทำการขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่ทางทิศตะวันตกของวัดตระพังเงิน เมืองสุโขทัย ขนาดหลุม 2x2 เมตร จำนวน 2 หลุม แบ่งประเภทการกำหนดอายุโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- การกำหนดอายุสมัยโดยวิธีเปรียบเทียบ
- ชิ้นส่วนภาชนะแหล่งเตาสุโขทัย ได้แก่ ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งเขียนลายสีดำบนพื้นสีขาวลวดลายกงจักร ลายปลาในวงกลม ลายดอกไม้หรือลายพันธุ์พฤกษา ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งน้ำเคลือบสีเขียวหรือสังคโลกจากแหล่งเตาสุโขทัย กำหนดอายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 20
- เครื่องถ้วยจีน ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนที่พบจากการขุดค้นทางโบราณคดีสามารถกำหนดอายุคร่าวๆได้ว่า ชิ้นที่พบว่ามีอายุเก่าสุดอยู่ในช่วงสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ (ปลายพุทธศตวรรษที่ 17 - ต้นพุทธศตวรรษที่ 18) ต่อมาคือสมัยเยวี๋ยน (ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 - ปลายพุทธศตวรรษที่ 19) และสมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ.1911-2187) นอกจากนั้นยังพบภาชนะสำริดตกแต่งผิวด้านนอก-ด้านในด้วยวิธีถมปัด อายุสมัยอยู่ในช่วงราชวงศ์หมิงราวพุทธศตวรรษที่ 22 โดยเมื่อเปรียบเทียบชั้นดินวัฒนธรรมแล้วพบว่าเศษภาชนะดินเผาที่มีอายุสมัยอยู่ในช่วงราชวงศ์หมิงเหล่านี้ อยู่ในชั้นดินที่อยู่อาศัยสมัยสุโขทัย ร่วมสมัยกับชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อดินและชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งรูปทรงต่างๆ และชิ้นส่วนถ้วยชามสังคโลก
- การกำหนดอายุสมัยโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์
จากรายงานผลการกำหนดค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธี AMS Dating ตัวอย่างถ่าน และเปลือกหอยจากการดำเนินงานการขุดค้นทางโบราณคดี โครงการวิจัยการศึกษาทางโบราณคดีเพื่อจัดลำดับอายุสมัยแหล่งศิลปกรรมเมืองสุโขทัย ปีงบประมาณพุทธศักราช 2561 นำตัวอย่างถ่านที่พบในหลุมขุดค้นที่ 2 (TP.2) ทางทิศตะวันตกของวัดตระพังเงิน ระดับความลึกสมมติที่ 11 (160-170 cm.dt.) ไปกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธีการเร่งอนุภาคมวลสาร (AMS) มีค่าอายุอยู่ในช่วงพุทธศักราช 1690-1758 ซึ่งมีอายุเก่ากว่าสมัยสุโขทัย โดยในระดับชั้นเดียวกันนี้พบโบราณวัตถุที่มีอายุสมัยร่วมกันคือ ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ กำหนดอายุโดยวิธีเปรียบเทียบราวปลายพุทธศตวรรษที่ 17 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 18
ผลการดำเนินงานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่าหลุมขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณทิศตะวันตกของวัดตระพังเงินมี 2 ชั้นวัฒนธรรม ได้แก่ ชั้นที่อยู่อาศัยในยุคเริ่มแรกสุโขทัย และชั้นที่อยู่อาศัยสมัยสุโขทัย และจากหลักฐานทางโบราณคดีดังกล่าวข้างต้น สันนิษฐานว่าช่วงเวลาการสร้างวัดที่ปรากฏศิลปกรรมเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมอย่างช้าที่สุดคือช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 19 - 20
ดังนั้นการปรากฏรูปแบบเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมที่วัดเจดีย์กลางทุ่ง ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร และวัดตระพังเงิน เมืองสุโขทัย สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากอายุสมัยแห่งการก่อสร้างวัดทั้งสองแห่งที่อยู่ร่วมสมัยกันในฐานะที่เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองบริวารของอาณาจักรสุโขทัย

สำหรับพระพิมพ์ลีลา ที่พบในกรุนี้ไม่ค่อยมีให้เห็นบ่อยนัก เนื่องจากพบเจอน้อย

+++รับประกันพระเเท้สากลตลอดกาลครับ+++
ราคาปัจจุบัน
-
จำนวนผู้เข้าชม
321 ครั้ง
สถานะ
บูชาแล้ว
โดย
ชื่อร้าน
สุรินทร์ภักดี พระเครื่อง
URL
เบอร์โทรศัพท์
0870081414
ID LINE
surinphakdee
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกสิกรไทย / 686-2-299xx-x




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี